วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติความเป็นมา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งตั้งขี้นเมื่อ พ.ศ. 2402 แต่เดิมเป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือวังหน้าซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งและพระตำหนักอันนับเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการต่างๆ นับว่าเป็นบ่อเกิดของพิพิธภัณฑ์ในสมัยต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มิวเซียม" ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเแลิมพระชนมายุครบ 21 พรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2430 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทิวงคต จึงได้มีประกาศยกเลิกตำแหน่งพระอุปราชแล้ว ทำให้สถานที่ในพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึง โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานจากหอคองคอเดีย ไปตั้งจัดแสดงที่พระราชวังบวรสถานมงคลเฉพาะด้านหน้า 3 องค์ โดยใช้พระที่ นั่งด้านหน้าคือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์วังหน้า"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระ ราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้น และได้จัด พระที่นั่งศิวโมกขพิมานให้เป็นสถานที่จัดแสดง ศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย ตำราโบราณ เรียกว่าหอสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จึงได้เข้าสังกัดกับกรมศิลปากร และได้ประกาศตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2477

การจัดแสดง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยา ปัจจุบันแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.ประวัติศาสตร์ชาติไทย จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติไทยและประวัติศาสตร์ชาติไทยโดยสังเขป โดยจัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

2.ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี เป็นการจัดแสดงวิวัฒนาการของศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย ลำดับตามยุคสมัย โดยจัดแสดงมราอาคารมหาสุรสิงหนาทและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์

3.ประณีตศิลป์และชาติพันธุ์วิทยา จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างประณีต หรือเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแต่โบราณ เช่น เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม เครื่องมุก เครื่องดนตรี เครื่องไม้จำหลัก เครื่องประกอบการเล่นมหรสพต่างๆ เครื่องแต่งกายและผ้าโบราณ เครื่องถ้วย อาวุธโบราณ ราชยานคานหาม ราชรถและเครื่องประกอบการพระราชพิธีพระบรมศพ เป็นต้น โดยจัดแสดงที่อาคารหมู่พระวิมานและโรงราชรถ

4.อาคารโบราณสถาน จัดแสดงอาคารหมู่พระที่นั่งในพระราชวังบวรสถานมงคลมาแต่เดิม รวมทั้งอาคารที่เคลื่อนย้ายมาจากพระราชวังต่างๆ อาทิ เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ตำหนักแดง พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พระที่นั่งปาฏิหารย์ทัศไนย ศาลาลงสรง เป็นต้น

แผนผังพิพิธภัณฑ์


คำอธิบายแผนผัง

1 ประวัติศาสตร์ชาติไทย(ปิดปรับปรุง)
2
ก่อนประวัติศาสตร์ (ปิดปรับปรุง)
3
พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์
4
พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย
5
มหรรฆภัณฑ์
6
ราชยานคานหาม
7
การละเล่น
8 ล
เครื่องถ้วย
8 บ งาช้าง
9
เครื่องมุก
10
อาวุธโบราณ
11 เครื่องทอง
12
ศิลาจารึก
13
ไม้จำหลัก
14 ล
เครื่องแต่งกาย-ผ้า
14 บ
เครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา
15
ครื่องดนตรี
16
พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์
17
โรงราชรถ
18
พระที่นั่งมังคลาภิเษก
19
พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย
20
ศาลาสำราญมุขมาตย์
21
ศาลาลงสรง
22
ตำหนักแดง
23
หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช
24
เก๋งจีนนุกิจราชบริหาร
ต 1
ศิลปะเอเชีย
ต.3,5
ศิลปะลพบุรี
ต 4
เทวรูปโบราณ
ต 6
มรดกโลกบ้านเชียง (ปิดปรับปรุง)
ต 7
ศิลปะทวารวดี
ต 8
ศิลปะชวา
ต 9
ศิลปะศรีวิชัย
น 1
ศิลปะรัตนโกสินทร์
น 2
ประณีตศิลป์
น 3
เงินตรา ธนบัตร แสตมป์
น 4
พระพุทธรูป
น 5,6 ศิลปะล้านนา
น 7,8
ศิลปะสุโขทัย
น 9,10
ศิลปะอยุธยา


โบราณวัตถุที่สำคัญ

พระพุทธสิหิงค์

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20สำริดกะไหล่ทอง สูง 166 เซนติเมตรประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพักตร์ค่อนข้างกลม มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัยและลังกา เป็นพุทธรูปสำคัญซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ที่ราชธานีเดิม ทั้งกรุงศรีอยุธยาและเมืองเชียงใหม่ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท อัญเชิญจากเชียงใหม่มาประดิษฐานยังพระราชวังบวรสถานมงคล ในราว พ.ศ. 2330 พระพุทธสิหิงห์เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อำนวยสวัสดิ์แก่บ้านเมือง จึงอัญเชิญออกสรงน้ำพิธีสงกรานต์ที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ เป็นประจำทุกปี






พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20สำริด สูง 102 เซนติเมตรพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานจัดแสดงที่ห้องศิลปะสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระรัศมีรูปเปลว ขมวดเกศาเป็นรูปก้นหอยสมส่วน พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งปลายงุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์บาง อมยิ้ม พระอังสาใหญ่ ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาย ประทับขัดสมาธิราบบนฐานเขียง มีรูปนอกอ่อนหวาน ตามลักษณะศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ที่ฐานมีจารึกว่า ทิดไสหงและนางแก้วเป็นผู้สร้าง


พระพุทธรูปปางมารวิชัย


ศิลปะล้านนา สูงพร้อมฐาน 70.5 เซนติเมตรหน้าตักกว้าง 43 เซนติเมตรของหลวงพระราชทานจัดแสดงที่ห้องศิลปะล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป พระรัศมีเป็นรูปลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งแต่สั้น พระโอษฐ์อิ่ม อมยิ้มเล็กน้อย พระหนุเป็นปม พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ครองจีวรสไบเฉียง เปิดพระอังสาขวา มีชายจีวรหรือสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือพระถัน ทำปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิเพชรแลเป็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฐานบัวคว่ำหงายมีเกสรบัวประกอบ จัดเป็นพระพุทธรูปล้านนาหรือพระพุทธรูปเชียงแสนสมัยต้น

พระอวโลกิเตศวร

ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 14)สำริด สูง 63 เซนติเมตรย้ายมาจากวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีจัดแสดงที่ห้องศิลปะศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ขนาดเท่าบุคคลจริง พบเฉพาะส่วนบนของประติมากรรม ลักษณะพระองค์อวบอ้วน ประทับเอียงตน ก้มพระพักตร์ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำอย่างงดงาม องค์ประกอบประติมากรรมลวดลายเครื่องประดับคล้ายคลึงกับประติมากรรมต่างๆจากชวาภาคกลาง เป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมที่สุดชิ้นหนึ่งของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระคเณศ



ศิลปะชวาตะวันออก พุทธศตวรรษที่ 15-16ศิลา สูง 172 เซนติเมตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มาจากจัณฑิ สิงหส่าหรี ประเทศอินโดนีเซียจัดแสดงที่ห้องศิลปะชวา อาคารมหาสุรสิงหนาท พระคเณศจำหลักศิลานูนสูง ประทับนั่งบนบัลลังก์กระโหลกมนุษย์ มี 4 กร หัตถ์ขวาบนถือขวาน หัตถ์ซ้ายบนถือพวงลูกประคำ หัตถ์ขวาและหัตถ์ซ้ายล่างถือถ้วยขนม ทรงเครื่องประดับตกแต่งมาก คือ ศิราภรณ์กุณฑลรูปกระโหลก พาหุรัด เข็มขัด รัดองค์ ทองพระกร ทองพระบาท ทรงภูษาลวดลายกระโหลกมนุษย์ และสวมสายยัชโญปวีตรูปงู ผู้สำเร็จราชการฮอลันดาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จประพาสชวา พ.ศ. 2439


ศิลาจารึกหลักที่ 1


จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พ.ศ. 1835ศิลา สูง 111 เซนติเมตรพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๆด้จากเมืองเก่าสุโขทัยจัดแสดงที่ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือเรียกว่า ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง นับเป็นหลักฐานสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นบันทึกเรื่องราวพระราชประวัติและรพระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 1826 นอกจากนี้ยังบันทึกถึงภูมิสถานบ้านเมือง การเมือง การปกครอง และวิถีชีวิตความเชื่อความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นอีกด้วย
การบริการ
บริการฝ่ายบริการการศึกษา
บริการนำชมเป็นหมู่คณะ โดยการนัดหมาย
บริการสื่อโสตทัศนศึกษา โดยการนัดหมาย
บริการให้ยืมนิทรรศการหมุนเวียน โดยการนัดหมาย
บริการให้ยืมภาพถ่าย โดยการนัดหมาย
บริการห้องสมุด วันเสาร์ - อาทิตย์ หรือโดยการนัดหมาย
บริการนำชมภาษาต่างประเทศ โดยกลุ่มสตรีอาสาสมัคร
ภาษาอังกฤษ นำชมเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะไทยและพระพุทธศาสนา
ทุกวันพุธ และพฤหัสบดี เวลา 9.30น.
ภาษาฝรั่งเศส นำชมเรื่องศิลปะก่อนไทยและศิลปะไทย ทุกวันพุธ และพฤหัสบดี เวลา 9.30น.
ภาษาเยอรมัน นำชมเรื่องศิลปะและวัฒนธรรมไทย
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 9.30น.
ภาษาญี่ปุ่น นำชมเรื่องวัฒนธรรมไทย, เครื่องถ้วย และพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ทุกวันพุธ สัปดาห์ที่ 1 และ 2 ของเดือน เวลลา 9.30 น. นำชมเรื่องศิลปะก่อนไทยและศิลปะไทย
ทุกวันพุธ สัปดาห์ที่ 3 และ 4 ของเดือน เวลลา 9.30น.
อัตราค่าเข้าชม
บัตรปลีก คนไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท
บัตรรวม คนไทย 60 บาท ชาวต่างประเทศ 350 บาท
** บัตรรวมสามารเข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์
เข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษะ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆเวลาทำการ 09.00 - 16.00น.ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น