วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติความเป็นมา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2507 โดยเริ่มจากการเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง โบราณวัตถุที่จัดแสดงส่วนใหญ่ได้จากการขุดแต่งบูรณะปราสาทพิมาย การขุดแต่งบูรณะโบราณสถานและการขุดค้นทางโบราณคดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. 2532 กรมศิลปากรได้พัฒนาปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการพิพิธภัณฑสถานวิทยา โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียว ก่อสร้างอาคาร 3 หลังเชื่อมติดต่อกัน ระหว่าง พ.ศ. 2532 - 2536 จัดแสดงนิทรรศการถาวรและปรับปรุงภูมิทัศน์แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2536 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย นับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงถูกต้องตามหลักวิชาการพิพิธภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากลแห่งหนึ่งในประเทศไทย

การจัดแสดง

แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 อาคารจัดแสดงชั้นบน จัดแสดงเรื่องพัฒนาการของสังคมในดินแดนแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แสดงถึงรากฐานการกำเนิดอารยธรรมซึ่งมีที่มาจากความเชื่อต่างๆ ตลอดจนอิทธิพลวัฒนธรรมภายนอกที่เข้ามามีบทบาทตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน แบ่งเป็นห้องต่างๆ ดังนี้
1. รากฐานวัฒนธรรม
2. ชุมชนแรกเริ่ม
3. อิทธิพลวัฒนธรรมเขมร
4. สุดท้ายแห่งสายวัฒนธรรมเขมร
5. อีสานดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ส่วนที่ 2 อาคารจัดแสดงชั้นล่าง จัดแสดงโบราณวัตถุร่วมสมัยศิลปะเขมร โบราณคดีและประวัติศาสตร์พิมาย กล่าวถึงกำเนิดเมือง การสร้างพุทธสถานประจำเมือง หลักฐานร่องรอยความเจริญด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ โดยศึกษาจากหลักฐานต่างๆ ที่พบในพิมายและจังหวัดใกล้เคียง โบราณวัตถุที่สำคัญ อาทิ ประติมากรรมรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องถ้วยลพบุรีร่วมสมัยศิลปะเขมรและเครื่องทองประดับเทวรูปจากปราสาทบ้านถนนหัก อำเภอหนองบุนนาก จังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็นห้องต่างๆ ดังนี้
1. พิมาย
2. ทับหลัง
3. สังคมวัฒนธรรมในอดีต
4. การอนุรักษ์วัฒนธรรมอีสาน

ส่วนที่ 3 อาคารจัดแสดงกลางแจ้ง จัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทราย อาทิ ทับหลัง หน้าบัน เสาประดับกรอบประตู กลีบขนุน บัวยอดปราสาท และปราสาทจำลอง ที่พบจากโบราณสถานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง นอกจากนี้บริเวณรอบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ยังได้จัดแสดงใบเสมาและทับหลังที่สวยงามอีกด้วย



โบราณวัตถุที่สำคัญ






ชื่อวัตถุ ประติมากรรมรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ขนาด ตักกว้าง 81.5 ซม. สูง 143 ซม.
อายุสมัย ศิลปะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบบายน อายุประมาณ พ.ศ. 1720 - 1780
วัสดุที่ ทำหินทราย
ประวัติ พบที่ปรางค์พรหมทัต ปราสาทพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา








ชื่อวัตถุ กระบังหน้า
ขนาด กว้าง 4.5 ซม. ยาว 13 ซม.
อายุสมัย ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16-18
วัสดุที่ทำ ทองคำ
ประวัติ พบที่ปราสาทบ้านถนนหัก อำเภอหนองบุนนาก จังหวัดนครราชสีมา







ชื่อวัตถุ แท่งหินสี่เหลี่ยม
ขนาด ยาว 57 ซม. สูง 51 ซม. หนา 18 ซม.
อายุสมัย ศิลปะร่วมสมัยศิลปะเขมร พุทธศตวรรษที่ 16-18
วัสดุที่ทำ หินทราย
ประวัติ พบที่ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์







ชื่อวัตถุ ไหรูปช้างสามเศียร
ขนาด ปากกว้าง 12.7 ซม. สูง 30.6 ซม.
อายุสมัย ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 15-18
วัสดุที่ทำ ดินเผาเคลือบ
ประวัติ สถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านบัว อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ยึดจากผู้เก็บหรือขุดพบ นำส่ง พช. พิมาย เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2535








ชื่อวัตถุ ซุ้มหน้าบัน
ขนาด กว้าง 302 ซม. สูง 262 ซม. หนา 30 ซม.
อายุสมัย ศิลปะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบคลัง-บาปวน พุทธศตวรรษที่ 16
วัสดุที่ทำ หินทราย
ประวัติ พบที่ปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

















ชื่อวัตถุ ทับหลังจำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ขนาด กว้าง 70.5 ซม. ยาว 205 ซม. หนา 35 ซม.
อายุสมัย ศิลปะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ พุทธศตวรรษที่ 15
วัสดุที่ทำ หินทราย
ประวัติ พบที่ปราสาทเมืองแขก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา


การบริการ

1.การเข้าชม เปิดบริการตั้งแต่วันพุทธ ถึง วันอาทิตย์ เวลา 9.00-16.00 น.
ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 20 บาท
ชาวต่างประเทศ 100 บาท

2.การเดินทาง จากจังหวัดนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ (นครราชสีมา - หนองคาย) ระยะทาง 50 กิโลเมตร ถึงทางแยกตลาดแคเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 206 อีก 10 กิโลเมตร

3.การติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ / โทรสาร (044) 471167


วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

ประวัติความเป็นมา

ประวัติพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประเภทแหล่งอนุสรณ์สถานจัดตั้งขึ้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 13 ตำบล บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลแล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียงได้จัดแสดงหลักฐานที่ ได้จากการสำรวจขุด ค้น ที่บ้านเชียง และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง อันประกอบด้วยกลุ่มภาชนะดินเผา เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอื่นๆอีกมากมาย
จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง มาจากการพบภาชนะลายเขียนสี เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยชาวบ้านเชียง ต่อมาปี พ.ศ. 2509 ชาวอเมริกัน ได้พบภาชนะดินเผาที่บ้านเชียงโดยบังเอิญจึงนำไปแจ้งที่กรมศิลปากร ปีพ.ศ. 2510 จึงได้มีการขุดค้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกปี พ.ศ.2515 ได้ขุดค้นเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จทอดพระเนตรแหล่งขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีในพร้อมกับแหล่งอื่นในบ้านเชียง และครั้งสุดท้ายปีพ.ศ. 2517-2518 กรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ร่วมมือขุดค้นและหาข้อมูลใหม่เพิ่มเติม โดยเรียกโครงการนี้ว่า " โครงการ โบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ " พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งชาติ บ้านเชียง จึงได้เริ่มจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2518 เป็นต้นมา

พ.ศ. 2524 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับกรมศิลปากร ได้ของบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มาสร้างอาคารหลังแรก แต่เนื่องจาก สภาพพื้นที่ยังเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูฝน นายมีชัย ฤชพันธุ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอเงินงบประมาณในโครงการเงิน กสช. มาปรับปรุงพื้นที่ให้สวยงาม และพรรคชาติไทยยังได้บริจาคต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับให้แก่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียง ด้วยเช่นกัน

พ.ศ. 2525 ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ของบประมาณสร้างอาคารหลังที่ 2 จากมูลนิธิ จอร์น เอฟ เคเนดี แห่งประเทศไทย และกรมศิลปากรได้มีงบประมาณสนับสนุนด้านครุภัณฑ์ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 6,100,000 บาท เนื่องจากในวโรกาสสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุ 84 พรรษา กรมศิลปากร ได้กราบบังคมทูลพระบรมราชานุญาตใช้ชื่ออาคารหลังนี้ว่า "อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา ทรงเป็นผู้แทนพระองค์เสด็จทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ในวันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2530

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ปัจจุบันมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 25 ไร่ คือ บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง หลุมขุดค้นทางโบราณคดีวัดโพธิ์ศรีใน และบ้านไทพาน ด้วยเหตุผลที่คนบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้มีหลักฐาน ชีวิตความเป็นอยู่ ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของคนยุคนั้น ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้เป็นอย่างดี คณะกรรมการมรดกโลกได้ร่วมกันตกลงยอมรับให้ขึ้นบัญชี " แหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียง "ไว้เป็นแหล่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 359 ของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2535




การจัดแสดง

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียง ได้แบ่งการจัดแสดงออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ดังนี้ 1.การจัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อาคารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 2.การจัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์วัฒนธรรมบ้านเชียงที่อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
แบ่งการจัดแสดงตามอาคารดังนี้

1.อาคารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
อาคารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งตามห้องจัด แสดง ดังต่อไปนี้

ห้องที่ 1จัดแสดงขั้นตอนการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.1การเตรียมการและการสำรวจ เริ่มตั้งแต่การจัดทำโครงการ การหาทุน การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น หาสำรวจภาคสนาม การสัมภาษณ์บุคคลในท้องถิ่น การเก็บตัวอย่างโบราณวัตถุ เป็นต้น
1.2เทคนิคและการขุดค้นจะถูกกำหนดขึ้นตามสภาพของแหล่งโบราณคดี การบันทึกข้อมูล ถ่ายภาพ วาดภาพ ซ่อมสงวนโบราณวัตถุ เป็นต้น
1.3การศึกษา วิเคราะห์และวิจัย นักโบราณคดีไม่ได้เชี่ยวชาญหมดทุกเรื่องเสมอไป จึงต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น นักธรณีวิทยา นักมานุษยวิทยา นักสัตววิทยา นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ เมื่อผลการศึกษาเป็นที่รู้แล้ว นักโบราณคดีจะนำมาประกอบและร่วมพิจารณาตีความ ตั้งสมมุติฐานหรือสรุปต่อไป
1.4การเสนอรายงาน ผลได้จากการสรุปข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงขั้นสมบูรณ์ จะต้องนำออกมาเผยแพร่ และจัดแสดงในรูปแบบต่างๆ
ห้องที่ 2 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ด้วยความมีพื้นที่กว้างขวาง มีแม่น้ำสำคัญหลายสาย การตั้งหลักแหล่งของคนจึงกระจัดกระจายไปตามลุ่มน้ำต่างๆ ดังจะเห็นว่าได้พบเครื่องมือหินกะเทาะที่เก่าแก่ที่สุดดที่จังหวัดเลย มุกดาหาร และได้พัฒนาเครื่องมือมาเป็นโลหะสำริด จากหลักฐานการขุดค้นที่บ้านโนนนกทา อ. ภูเวียง จังหวัดขอนแก่นหรือที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จ. อุดรธานีทั้งสองแหล่งกำหนดอายุได้ 5000 กว่าปีมาแล้ว นับเป็นจุดเริ่มต้นของจุดสำริดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ต่อมาประมาณ 2700 ปีมาแล้ว คนยุคก่อนประวัติศาสตร์เริ่มมีการนำเหล็กมาใช้เป็นเครื่องมือแทนสำริด ส่วนเครื่องประดับยังคงนิยมทำด้วยสำริดอยู่บ้าง ช่วงระยะหลังต่อมา การตั้งถิ่นที่อยู่มักจะตั้งถิ่นฐานตามลำน้ำ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการขยายพื้นที่การเพาะปลูกมากขึ้นนั่นเอง การค้นพบโบราณวัตถุมักจะพบในแหล่งสกลนคร ซึ่งมีแม่น้ำสงครามและลำน้ำสาขา เป็นแหล่งสำคัญ นอกจากนี้ยังกระจายไปถึงแอ่งโคราช ซึ่งได้พบจากหลักฐานการขุดค้นที่บ้านธารปราสาท อ. โนนสูง จ. นครราชสีมา
ห้องที่ 3การจัดแสดงโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมบ้านเชียง จากบ้านนาดี ต. พังง ูอ. หนองหาน จ. อุดรธานี จากบ้านนาโก ต.ศรีฐาน อ. ภูกระดึง จ. เลย และจากจังหวัดหนองคาย
ห้องที่ 4การจัดแสดงโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ จากบ้านธารปราสาท อ. โนนสูง จ.นครราชสีมา
ห้องที่ 5การจัดแสดงโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมบ้านเชียง จากหลายแหล่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่ จังหวัดอุดรธานี และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง
2.อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมบ้านเชียง แบ่งการจัดแสดงออกตามห้องดังต่อไปนี้
ห้องที่ 1ห้องโลหะกรรม
จัดแสดงเกี่ยวกับการขุดค้นทางโบราณคดีบ้านเชียง และเรื่องราวของการทำสำริดและเหล็ก รวมถึงแหล่งแร่โบราณตามแหล่งต่างๆด้วย
ห้องที่ 2 ห้องเครื่องปั้นดินเผา เป็นห้องที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา การกำหนดอายุลักษณะเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆ ภาชนะดินเผากับประเพณีการฝังศพ ตลอดจนเทคนิคการผลิตภาชนะดินเผาที่บ้านเชียง
ห้องที่ 3 ห้องบ้านเชียง การค้นพบสำริดที่สาบสูญ เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปีพ.ศ. 2525-2529 แสดงผลการสำรวจขุดค้นและศึกษา วิจัย หลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้จาการขุดค้นร่วมกันระหว่างกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่บ้านเชียง เมื่อปีพ.ศ. 2517-2518
ห้องที่ 4ห้องบ้านเชียงวันนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลและวัตถุพื้นบ้านของชาวบ้านเชียงในปัจจุบัน ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชาวพวน มาจากเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเชียงตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์หรือเมื่อประมาณ 200ปีมาแล้วซึ่งเดิมมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก แต่เมื่อมีการขุดพบโบราณคดีที่บ้านเชียง สังคมและการดำรงชีวิตส่วนหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงไป
แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีวัดโพธิ์ศรี

ในแหล่งโบราณคดีวัดโพธิ์ศรีใน ห่างจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ บ้านเชียงไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 เมตร เป็น1ในหลายแห่งที่ขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียง แหล่งนี้ได้ขุดค้นเมื่อปีพ.ศ.2515 เป็นหลุมขุดค้นที่จัดอยู่สมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง มีอายุระหว่าง 2300-1800 ปีมาแล้ว สมัยนี้ภาชนะดินเผาจะเขียนลายพื้นสีแดงบนลายสีนวลเขียนลายสีแดงบนพื้นสีแดง และฉาบด้วยน้ำดินสีแดงแล้วขัดมัน ส่วนด้านโลหะกรรม ยุคนี้รู้จักการนำเหล็กมาใช้ได้แล้ว ส่วนสำริดถึงแม้จะพบทำเป็นเครื่องใช้น้อยลง แต่ยังคงทำเป็นเครื่องประดับที่พัฒนาด้านความประณีต และสวยงามมากกว่าทุกสมัย
บ้านไทพวน

บ้านไทพวน อยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ บ้านเชียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 700 เมตร เดิมป็นบ้านของนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ มอบให้กรมศิลปากร เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้เป็นโบราณสถาน และได้มีการขุดค้นตาม หลักวิชาการทางโบราณคดี ได้พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาเยือนแหล่งโบราณคดีนี้ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จประทับบนบ้านหลังนี้ ได้ทรงถามทุกข์-สุข ของนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ และครอบครัว ทรงถามถึงชีวิตความเป็นอยู่แบบ "คนไทพวน" เช่น กินอยู่ อย่างไร ห้องครัวทำอย่างไร ห้องน้ำใช้อย่างไร สวนครัวปลูกอะไรบ้าง จนทำให้ นายพจน์ มนตรีพิทักษ์ซาบซึ้งใน พระมหากรุณาธิคุณ ต่อมาจึงได้มอบบ้านและที่ดินหลังนี้ ให้กรมศิลปากรเป็นผู้อนุรักษ์เอาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา เนื่องจาก บริเวณแห่งนี้มีเนื้อที่ค่อนข้างคับแคบ ไม่สะดวก ต่อมาผู้มาเยือน นางนิภาภรณ์ กลางพรหม จึงได้มอบที่ดินที่อยู่ติดกันให้ แก่กรมศิลปากรมีเนื้อที่ประมาณ 41 ตารางวา รวมกับพื้นที่ทั้งหมดได้ประมาณ 275 ตารางวา ปัจจุบันอยู่ในความรับผิด ชอบ ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง กำลังจะพัฒนาการจัดแสดงวัฒนธรรม " แบบไทพวน " ไว้ในอาคารดังกล่าว บริเวณบ้านไทพวนจะปลูกต้นไม้ พืชผักสวนครัว รั้วบ้าน กินได้ ให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบท้องถิ่น ไทพวน


โบราณวัตถุที่สำคัญ



วัตถุ ภาชนะดินเผา มีเชิง สีดำ ปากบาน ลายขูด ชำรุด กะเทาะ
ชนิด ดินเผา
ขนาด สูง 36.3 เซนติเมตร ปากกว้าง 44 เซนติเมตร
เลขวัตถุ 350/2530






วัตถุ ภาชนะดินเผา มีเชิง ปากตัด สีดำ ลายขูด มีสันนูนหยักกลางใบ
ชนิดดินเผา
ขนาดสูง 18 เซนติเมตร ปากกว้าง 16.3 เซนติเมตร
เลขวัตถุ 421/2530








วัตถุ ภาชนะดินเผา สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีเชิง ตัวป่อง สีดำ ปากแคบ มีลายขีดเป็นเส้น ชำรุด ตัวแตกต่อไว้
ชนิด ดินเผา
ขนาด สูง 12.7 เซนติเมตร ปากกว้าง 11.8 เซนติเมตร
เลขวัตถุ 98/2530







วัตถุ วัตถุ ภาชนะดินเผา สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทรงสูง ระหว่างเชิงและก้น มีลายสันนูน ลายเขียนสีแดงทั้งใบ เป็นลายคล้ายลายเรขาคณิต ชำรุด เชิงแตกต่อไว้ ปากแตกต่อไว้
ชนิด ดินเผา
ขนาด สูง 39 เซนติเมตร ปากกว้าง 23.5 เซนติเมตร
เลขวัตถุ 145/2525










วัตถุ ภาชนะดินเผา สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีเชิงสูง ปากเป็นสี่เหลี่ยม ที่เชิงมีลายขูด สีดำ
ชนิด ดินเผา
ขนาด -
เลขวัตถุ 36/2530


วัตถุภาชนะดินเผา สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ลักษณะคล้ายกาน้ำ มีที่จับตรง ส่วนปลายแหลม ชำรุด ที่ตัวแตก ที่จับหัก
ชนิด ดินเผา
ขนาดสูง 16 เซนติเมตร ปากกว้าง 23 เซนติเมตร
เลขวัตถุ 97/2530
การบริการ

จำหน่ายบัตรเข้าชม
ตั้งอยู่ที่ประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ชาวไทย 30 บาท
ชาวต่างประเทศ 150 บาท
นักบวช นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ไม่เสียค่าเข้าชม

วัน - เวลา เปิดทำการ
เปิดทำการทุกวัน ไม่มีวันหยุด
เริ่มเวลา 8.30 น. - 17.00 น.
ติดต่อได้ที่ ( 042 ) 208340
โทรสาร ( 042 ) 208341

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแห่ง จังหวัดสุโขทัย

ประวัติความเป็นมา


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย กรมศิลปากร ได้ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยนางสาวจันทร์ลดา บุญยมานพ สถาปนิก กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ ลักษณะอาคารเป็นแบบทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น พื้นที่ 812 ตารางเมตร การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2506 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 1,290,522.99 บาท (หนึ่งล้านสองแสนเก้าหมื่นห้าร้อยยี่สิบสองบาทเก้าสิบเก้าสตางค์) จากงบประมาณแผ่นดินสมทบกับเงินบริจาคของประชาชนชาวสุโขทัย จากนั้น ได้มอบหมายให้หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ภัณฑารักษ์เอก กองโบราณคดี และนายทิพา สังขะวัฒนะ นายช่างศิลปโท กองสถาปัตยกรรม ดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการถาวรให้เหมาะสมกับตัวอาคาร ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านศิลปะโบราณคดีและตามหลักวิชาพิพิธภัณฑสถาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2507
ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 3 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคาร เป็นการร่วมฉลองครบ 700 ปี และตั้งชื่ออาคารนี้ว่า "อาคารอนุสรณ์ 700 ปี สายสือไท" สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จทรงเปิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 ปัจจุบัน อาคารหลังนี้ใช้เป็นห้องประชุมและห้องจัดนิทรรศการชั่วคราว



การจัดแสดง


ศิลปโบราณวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ส่วนใหญ่เป็นศิลปะสุโขทัย ซึ่งเก็บรวบรวมจากการขุดค้น ขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 เป็นต้นมา บางส่วนได้จากบริเวณเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และพิจิตร อีกส่วนหนึ่งเป็นของพระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยและประชาชนมอบให้ ศิลปโบราณวัตถุที่จัดแสดงได้แก่ ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เครื่องถ้วยสังคโลก พระพุทธรูปแบบต่างๆ พระพิมพ์ที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถาน เทวรูป และอาวุธโบราณ
ในปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง มีอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร 2 หลัง ประกอบด้วย- อาคารลายสือไท เป็นอาคารชั้นเดียว จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองสุโขทัยในด้านต่างๆ ตั้งแต่สมัยก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงการพัฒนาเมืองสุโขทัยให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ภายในอาคารยังมีห้องประชุมสำหรับการสัมมนา บรรยายพิเศษ ส่วนบริการนักท่องเที่ยว ที่จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึก- อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง เป็นอาคารทรงไทย 2 ชั้น จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่งและบูรณะแหล่งโบราณคดีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และจังหวัดใกล้เคียง โดยแบ่งการจัดแสดงเป็นกลุ่มสำคัญๆ ดังนี้
1. ประติมากรรมปูนปั้นที่ได้จากวัดพระพายหลวงและวัดมหาธาตุ มีทั้งรูปบุคคล เทวดา และพระพุทธรูป ลักษณะโดยทั่วไปของพระพุทธรูปปูนปั้นจากวัดพระพายหลวง จะมีพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระโอษฐ์เล็กบาง พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอยเล็ก ชายผ้าสังฆาฏิจะพับทบกันหลายชั้น กำหนดอายุประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมจากวัดมหาธาตุ พระพักตร์จะเป็นรูปไข่ ขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอย กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 สำหรับรูปเทวดาหรือรูปบุคคลนั้น วัดพระพายหลวงจะมีพระพักตร์หรือใบหน้าค่อนข้างกลม แต่ของวัดมหาธาตุจะเป็นรูปไข่
2. กลุ่มประติมากรรมก่อนศิลปะสุโขทัย ได้จากศาลตาผาแดง วัดพระพายหลวง วัดศรีสวาย จัดเป็นศิลปะลพบุรี กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18
3. ศิลปะสุโขทัยพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 ศิลปะสุโขทัยเริ่มตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นอิสระ เมื่อราว พ.ศ. 1780 ศิลปะสุโขทัยจัดได้ว่าเป็นศิลปะไทยที่งดงามที่สุด มีลักษณะเป็นของตนเองมากที่สุด โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่มีลักษณะที่เด่นชัด คือ พระรัศมีเป็นเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอย พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม (ตามแบบบุรุษ) พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายจีวรเป็นลายเขียวตะขาบ ในสมัยสุโขทัยยังนิยมทำพระพุทธรูปสี่อิริยาบทคือ ยืน เดิม นั่ง และนอน
4. ศิลปะอู่ทอง ประติมากรรมรูปเคารพเนื่องในพุทธศาสนา มีทั้งปูนปั้นและสำริด ได้พบพระพุทธรูปในศิลปะอู่ทองตามวัดต่างๆ ในเมืองสุโขทัย สร้างขึ้นเมื่อประมาณราวพุทธศตวรรษที่ 20 อันเป็นช่วงเวลาที่ปรากฎหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรถึงความเกี่ยวดองเป็นเครือญาติ ระหว่างราชวงศ์สุโขทัยบางส่วนกับราชวงศ์สุพรรณภูมิลักษณะโดยทั่วไปของพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเส้นไรพระศกหนา ขมวดพระเกศากลมเล็กคล้ายหนามขนุน พระอุษณีษะเป็นรูปมะนาวตัด พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง
5. ศิลปะอยุธยา พระพุทธรูปที่จัดแสดงลักษณะโดยทั่วไปยังคงมีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย พระพักตร์รูปไข่ มีเส้นไรพระศกเล็ก ขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอยเล็ก พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็กบาง นอกจากนี้ ในระยะหลังนิยมสร้างทรงเครื่อง กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 - 23
6. เครื่องถ้วยจีน ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานในเมืองสุโขทัย พบทั้งสมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และชิง
7. เครื่องถ้วยสังคโลกจากแหล่งเตาทุเรียง เมืองสุโขทัย เตาป่ายาง และเตาเกาะน้อย เมืองศรีสัชนาลัย รูปแบบภาชนะเป็นแบบถ้วย กระปุก โถ แจกัน ชาม จาน คนโฑ กาน้ำ ตลับ รวมไปถึงตุ๊กตา และเครื่องประดับสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะต่างๆ น้ำยาเคลือบมีทั้งประเภทเคลือบสีเขียวหรือเซลาดอน เคลือบสีน้ำตาล เคลือบขาวหม่นหรือขาวน้ำนม เคลือบใสเขียนลายใต้เคลือบ และประเภทเคลือบสองสีคือขาวและน้ำตาล เป็นต้น
8. พระพิมพ์ มีทั้งพระพิมพ์ดินเผาและเนื้อชิน ได้จากวัดพระพายหลวง วัดมหาธาตุ และวัดป่ามะม่วง เป็นต้น
9. ส่วนจัดแสดงกลางแจ้ง พิพิธภัณฑ์ฯ ได้นำโบราณวัตถุบางส่วนจัดแสดงกลางแจ้ง เช่น ใบเสมาหินชนวน ทับหลังหินทราย ฐานประติมากรรมหินทราย ระฆังหิน ลูกกรงที่ทำเป็นเครื่องเคลือบ สังคโลกจากวัดมังกร เตาเผาเครื่องถ้วยสังคโลก (จำลอง) และช้างปูนปั้นซึ่งจำลองมาจากวัดช้างล้อมเมืองสุโขทัย วัดช้างล้อมเมืองศรีสัชนาลัย และวัดช้างรอบเมืองกำแพงเพชร อีกส่วนหนึ่งได้จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นลักษณะศิลปะพื้นบ้านสุโขทัย



โบราณวัตถุที่สำคัญ





เกียรติมุข (หน้ากาล)
ขนาด กว้าง 72 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร
อายุสมัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19 - 20
ประวัติ เกียรติมุข หรือหน้ากาล เป็นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับซุ้มหน้าบันของโบราณสถาน โดยทั่วไปมักทำคู่กับลายมกร โดยทำลายมกรออกมาทั้งสองข้างของเกียรติมุข ลักษณะของเกียรติมุขจะทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ หรือใบหน้าของอสูรที่ดุร้าย คิ้วขมวด นัยน์ตากลม และถลน ปากกว้างเห็นฟันและเขี้ยว ไม่มีฟันล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างของศรีษะ
คติความเชื่อเกี่ยวกับเกียรติมุข ได้รับความนิยมอย่างมากในอินเดีย ทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ใช้เป็นสิ่งประดับตามเทวสถานและพุทธสถาน เพื่อแสดงความเป็นเกียรติและเป็นมงคล และขจัดสิ่งชั่วร้ายต่างๆ มิให้เข้ามาสู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณภายใน ที่มาของเกียรติมุข เข้าใจว่ากำเนิดในประเทศอินเดียก่อน บางท่านกล่าวว่ามีการกำเนิดในประเทศใดประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย อาจจะได้มาจากประเทศธิเบต บางท่านก็ว่ากำเนิดที่ประเทศจีน มีรูปแบบซึ่งเรียกว่า เต้าเจ้ ปรากฏอยู่ ภาชนะสำริดของจีน สมัยช่วง 850 - 880 ปีก่อนพุทธกาล เป็นทำนองเดียวกับเกียรติมุขของอินเดีย หมายถึงเทพเจ้าผู้ตะกละ จากนั้นได้แพร่ไปทางบกไปยังประเทศอินเดีย ปรากฏอยู่ในศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีและคุปตะ ในประเทศไทย สันนิษฐานว่า เกียรติมุขคงแพร่เข้ามาในสมัยทวารวดีและศรีวิชัย โดยได้พบหลายแห่ง เช่น ที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่เจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทำเป็นรูปประดับลายกาบที่เชิงซุ้มเจดีย์ สำหรับที่สุโขทัย พบที่ทำเป็นลายประดับยอดซุ้มหน้าบัน วัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย





เทวรูป
ขนาด สูง 128 เซนติเมตร
อายุสมัย ศิลปะลพบุรี กลางพุทธศตวรรษที่ 18
วัสดุที่ทำ ศิลา

เทวรูปองค์นี้ได้จากศาลตาผาแดง เมืองเก่าสุโขทัย สภาพปัจจุบันเหลือแค่พระวรกาย ส่วนเศียร พระกร และพระบาทหักหาย เครื่องประดับที่พระวรกายมีกรองศอ (สร้อยคอ) ทำเป็นแผ่นใหญ่ใกล้พระศอ กึ่งกลางของขอบล่างทำเป็นปลายแหลม ลวดลายกรองพระศอประกอบด้วยลายดอกไม้ลักษณะกลม ลายลูกประคำ ส่วนขอบล่างเป็นลายใบไม้ทรงสังวาล 2 เส้น พาดพระอังสาซ้ายขวาไขว้ทับกันบริเวณกลางอุระ สายสังวาลทำเป็นลายลูกประคำ และสายประจำยาม สายรัดองค์จะอยู่ใต้ขอบของผ้าทรง โดยทำเป็นสายประจำยามล้อมรอบด้วยลายลูกประคำ ต่อจากขอบด้านล่างมีลายรูปใบไม้ห้อยลงมา ชายพกจะพาดทับสายรัดองค์ตรงพระวรกายด้านขวา มีลักษณะปลายแหลมเป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นแนวลงมา เทวรูปองค์นี้พบร่วมกันอีก 4 องค์ ที่ศาลตาผาแดง เมืองเก่าสุโขทัย นักประวัติศาสตร์ศิลปะกำหนดเป็นแบบศิลปะลพบุรี รับอิทธิพลจากศิลปะขอมแบบบายน โดยเทียบกับลวดลายเครื่องประดับ คล้ายกับที่พบที่ปราสาทบันทายฉมาร์ กัมพูชา





พระนารายณ์
ขนาด สูง 161 เซนติเมตร
อายุสมัย ศิลปะแบบสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20
วัสดุที่ทำ สำริด

ประวัติ พระนารายณ์หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่าพระวิษณุ ในศาสนาพราหมณ์ พระพรหมเป็นผู้สร้าง พระนารายณ์เป็นผู้รักษา และพระอิศวรเป็นผู้ทำลาย พระนารายณ์ทรงบรรทมอยู่เบื้องหลังพระยาอนันตนาคราช เมื่อโลกถูกทำลายลง และทรงสร้างโลกขึ้นใหม่ด้วยดอกบัวที่ผุดออกมาจากพระนาภีของพระองค์ และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่บนนั้น พระนารายณ์เป็นเทพสูงสุด ในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย มีสี่กร ทรงถือจักร สังข์ ครุฑ และดอกบัว ทรงครุฑเป็นพาหนะ มีมเหสีนามว่าพระลักษมี




พระพุทธรูปปางลีลา
ขนาด สูงฐาน 165 เซนติเมตร
อายุสมัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20
วัสดุที่ทำ สำริด
ประวัติพระราชประสิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดราชธานี มอบให้ เดิมนำไปจากเมืองเก่าสุโขทัย ไปอยู่ที่วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2500 องค์พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบทที่เคลื่อนไหว หรือเดินบนแท่นบัวหงายที่มีลักษณะรองรับด้วยฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ก้าวพระบาทซ้ายไปข้างหน้า ยกสันพระบาทขวาขึ้นเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า ส่วนพระหัตถ์ขวาปล่อยลงขนานไปกับพระวรกาย พุทธศิลป์ของพระพุทธรูปองค์นี้ จัดเป็นศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นลักษณะของสุโขทัยโดยเฉพาะ คือมีพระรัศมีเป็นเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระพุทธรูปลีลาลอยตัวองค์นี้ จัดเป็นประติมากรรมสำริดที่งดงามที่สุดชิ้นหนึ่ง ที่แสดงถึงฝีมือชั้นสูงของช่างสมัยสุโขทัย การทำพระพุทธรูปลีลาลอยตัวในสมัยสุโขทัย อาจเปรียบเทียบกับภาพปูนปั้นบนผนังอาคาร วัดตระพังทองหลางนอกเมืองสุโขทัย ด้านทิศตะวันออก ซึ่งมีองค์ประกอบเล่าเรื่องพุทธประวัติ ตอนพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภายหลังทรงเทศนาโปรดพุทธมารดา




มกร
ขนาด กว้าง 15 เซนติเมตร สูง 83 เซนติเมตร
อายุสมัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20
วัสดุที่ทำ สังคโลก

ประวัติ ในสมัยสุโขทัย เครื่องสังคโลกได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในการใช้ประดับ และตกแต่งงานด้านสถาปัตยกรรม โดยทำเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย เช่น มกร ซึ่งมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสม คือ สิงโต นาค มังกร ช้าง แพะ จระเข้ ปลา ควาย เป็นต้น





ตุ๊กตา
ขนาด สูง 9.7 เซนติเมตร
อายุสมัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20
วัสดุที่ทำ สังคโลก

ประวัติ ตุ๊กตาสังคโลกรูปมวยปล้ำนี้ หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิต ประทานให้ เป็นตุ๊กตามวยปล้ำเคลือบน้ำยาสีเขียว (เซลาดอน) เป็นรูปลักษณะบุคคลชายกอดกัน พบที่เตาบ้านเกาะน้อย การทำตุ๊กตาในสมัยสุโขทัยแพร่หลายมาก นอกจากจะทำเป็นรูปบุคคลแล้ว ยังทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ด้วย ตุ๊กตาดังกล่าวทำขึ้นเพื่อเป็นของเล่นเด็ก และใช้ในการสะเดาะเคราะห์ให้กับคนที่เจ็บป่วย พบมากที่กลุ่มเตาบ้านป่ายาง เรียกว่า "เตาตุ๊กตา"






บานประตูไม้จำหลักรูปเทวดาทรงพระขรรค์
ขนาด กว้าง 102 เซนติเมตร สูง 208 เซนติเมตร
อายุสมัย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 21 - 22
วัสดุที่ทำ ไม้
ประวัติ บานประตูไม้แกะสลักรูปเทวดาทรงพระขรรค์นี้ เดิมเป็นบานประตูพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ลักษณะของเทวดายังคงมีอิทธิพล ศิลปะสุโขทัย พระพักตร์รูปไข่ สวมเทริด คิ้วต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเรียวเล็ก พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียวเล็ก พระกรรณทรงกุณฑล ทรงกรองศอ ทองพระกร เทวดาองค์ขวาพระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ พระหัตถ์ขวาทอดแนบพระองค์ ทรงผ้า 2 ชั้น ชักชายด้านในออกมาด้านข้าง ประทับยืนอยู่ในซุ้มพันธุ์พฤกษา ส่วนองค์ด้านซ้ายพระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายหักหายไป บานประตูไม้จำหลักรูปเทวดาทรงพระขรรค์ คล้ายคลึงกับรูปเทวดาทรงพระขรรค์ จากซุ้มคูหาสถูปวัดพระศรีสรรเพชญ์ ต่างกันที่เทวดาวัดพระศรีสรรเพชญ์นั้น พระวรกายไม่อวบอ้วนเหมือนวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองศรีสัชนาลัย และทรงสวมกรองศอ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะอยุธยา
การบริการ

สถานที่ติดต่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
โทรศัพท์ / โทรสาร (055) 612167

การบริหารทางการศึกษา
- บริการนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยบริการเป็นหมู่คณะ
- การจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสสำคัญ
- บริการเอกสารเผยแพร่ แผ่นพับ แผ่นปลิว และเอกสารทางการศึกษา
- บริการทางการศึกษา ทางสื่อวัสดุโสตทัศนูปกรณ์ มัลติมีเดีย เช่น จัดฉายวีดีโอ การฉายสไลด์ประกอบคำบรรยาย
- จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึก

เวลาเปิดทำการ
เปิดบริการทุกวัน ระหว่างเวลา 9.00 - 16.00 น.

ค่าธรรมเนียมเข้าชม
ชาวไทย คนละ 30 บาท
ชาวต่างประเทศ คนละ 150 บาท
ที่มา http://www.thailandmuseum.com

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

การประเมินBlog

เนื้อหาเกี่ยวกับ

เนื่อหาที่จัดทำจะเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในประเทศไทย โดยจะกล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่ง รูปแบบของการจัดแสดง
โบราณวัตถุที่สำคัญ และ การให้บริการ อัตราค่าเข้าชม


วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย

1. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่เกิดความสนใจในเรื่องของพิพิธภัณฑ์และประวัติศาสตร์
2. เพื่อเป็นประโยชน์แต่บุคคลที่สนใจและบุคคลทั่วไป
3. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาอีกที่หนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจ


การประเมิน

เนื้อหาเป็นประโยชน์ 4
ความน่าสนใจ 4
ความทันสมัย 4
การออกแบบ/ควมสวยงาม 3.5
ความเรียบง่าย/อ่านง่าย เข้าใจง่าย 4

พิพิธภัทฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี

ประวัติความเป็นมา

นับเป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้วที่ได้มีการดำเนินการศึกษา ค้นคว้าวิจัยทางโบราณคดีใต้น้ำที่ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2517 ในการดำเนินงานสำรวจขุดค้นใต้น้ำในแหล่งโบราณคดีแต่ละแห่ง ทำให้มีจำนวนโบราณวัตถุเพิ่มมากขึ้น การเตรียมการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำงานโบราณคดีใต้น้ำและการพาณิชย์นาวีของไทย จึงเป็นงานสำคัญที่จะต้องดำเนินการเป็นลำดับต่อมา ประกอบกับการจับกุมชาวต่างชาติที่เข้ามาทำการลักลอบงมโบราณวัตถุใต้ทะเลบริเวณอ่าวไทย นับเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้คนไทยตระหนักถึงอีกมุมหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่พบอยู่ในท้องทะเล ซึ่งจะเป็นหลักฐานที่ช่วยในการค้นหาความเป็นมาและบอกเล่าถึงเรื่องราวทางเศรษฐกิจ การพาณิชย์นาวีในอดีต
ด้วยเหตุนี้ กรมศิลปากรจึงมีนโยบายเร่งด่วนในการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี เพื่อเป็นสถานที่รวบรวม อนุรักษ์ ศึกษา และจัดแสดงด้านการพาณิชย์นาวี โดยได้รับงบประมาณในการดำเนินการในปี พ.ศ. 2537 ณ จังหวัดจันทบุรี
ในปีเดียวกันนี้ทางคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อเป็นสถานที่เอื้ออำนวยประโยชน์ในด้านการศึกษาประวัติความเป็นมาของสังคม เศรษฐกิจ ธรรมชาติวิทยา วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยตรง กรมศิลปากรจึงจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดจันทบุรีขึ้น และได้ผนวกโครงการดังกล่าวไว้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี


การจัดแสดง

ประเภทการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี ได้แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 6 ห้อง ด้วยกัน คือ

1. ห้องจัดแสดงสินค้าและวิถีชีวิตชาวเรือ
ในห้องนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นถึง การพาณิชย์นาวีในสมัยโบราณ เส้นทางการเดินเรือ เมืองท่าโบราณ สินค้า จัดแสดงโดยใช้เรือสำเภาจำลองขนาดเท่าจริง จำลองสภาพของสินค้า ตลอดจนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในเรือ ที่มิใช่เป็นเพียงพาหนะ แต่เปรียบเสมือนบ้านของพวกเขา นอกจากนี้ ยังได้จัดแสดงของมีค่า อาทิเช่น จี้ทองคำฝังพลอยแดง และกำไลข้อมือทองคำ ซึ่งพบจากแหล่งเรือจมบริเวณอ่าวไทย

2. ห้องแนะนำปฏิบัติการโบราณคดีใต้น้ำ
แสดงเรื่องราว เทคนิคการทำงานของโบราณคดีใต้น้ำ ตั้งแต่โบราณคดีใต้น้ำคืออะไร แตกต่างจากโบราณคดีบนบกอย่างไร โดยจำลองสภาพจริงของแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ วิธีการทำงาน ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริง

3. ห้องคลังเก็บโบราณวัตถุ
แสดงให้เห็นถึงการเก็บรักษาโบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งอื่นๆ จะไม่มีบุคคลภายนอกเคยได้เห็นมากนัก เนื่องจากคลังเก็บโบราณวัตถุมักจะเป็นห้องอยู่ภายในอาคาร แต่ที่นี่จะมีบางส่วนที่เปิดเป็นช่องกระจกให้สามารถมองเห็นเข้าไปภายในได้

4. ห้องแสดงเรือและชีวิตชาวเรือ
จัดแสดงเรื่องของเรือในประเทศไทย ว่ามีเรือชนิดใดบ้าง เรือแบบใดใช้กันอยู่ในแถบใด แสดงโดยเรือจำลองที่ทำย่อส่วนตามจริง เพื่อให้ผู้ชมได้รู้จักเรือที่บางชนิดก็เคยได้ยินเพียงแต่ชื่อ แต่ก็ยังไม่เคยเห็นว่าที่จริงแล้วมีลักษณะเช่นไร
5. ห้องของดีเมืองจันท์
การกล่าวถึงเมืองจันทบุรีว่ามีความเป็นมาอย่างไร ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคประวัติศาสตร์ที่จันทบุรี การก่อตั้งเมือง เหตุการณ์สำคัญ และเรื่องของชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของจันทบุรี นอกจากนี้ยังมีมรดกทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว และของดีที่มีชื่อเสียงของจังหวัดจันทบุรี

6. ห้องบุคคลสำคัญ
ในห้องนี้จะแสดงถึง พระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่เกี่ยวข้องกับการทำสงคราม คราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เส้นทางเดินทัพเมื่อคราวมารวมพลที่จันทบุรี เพื่อเชิดชูพระมหาวีรกรรมของพระองค์
ในแต่ละห้องจะมี computer touch screen เพื่อการศึกษาด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้า ห้องฉายวีดีโอ ห้องประชุม และเพื่อให้ผู้พิการสามารถเข้าชมและใช้บริการได้ ทางพิพิธภัณฑ์จึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ทางลาด ทางเลื่อนไฟฟ้า เพื่อความสะดวกในการเข้าชม




โบราณวัตถุที่สำคัญ





กำไลทองคำประดับอัญมณี สมัยอยุธยา ทำจากทองคำฝังอัญมณี พบในการขุดค้นแหล่งเรือจมรางเกวียน ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2524













จี้ทองคำฝังทับทิม สมัยอยุธยา ทำจากทองคำฝังอัญมณี พบในการขุดค้นเรือคราม ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2517 - 2521








จานสังคโลก สมัยพุทธศตวรรษที่ 20 ทำจากดินเผา พบในการขุดค้นพบในการขุดค้นเรือคราม ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2517 - 2521
การบริการ

สถานที่ติดต่อ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี ค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 22000โทรศัพท์ (039)391-431
โทรสาร (039)391-432

วันและเวลาทำการ
เปิด : วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.
ปิด : วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ค่าธรรมเนียมเข้าชม
ชาวไทย 20 บาท
ชาวต่างประเทศ 100 บาท

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง

ประวัติความเป็นมา


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตั้งอยู่ริมคูเมืองอู่ทอง ถนนมาลัยแมน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ 25 ไร่ อยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภออู่ทอง ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 30 กิโลเมตร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จทอดพระเนตรเมืองโบราณท้าวอู่ทองเมื่อ พ.ศ. 2446 พบว่าเป็นเมืองโบราณรุ่นเดียวกับนครปฐม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จทอดพระเนตรเมืองโบราณอู่ทองในปี พ.ศ. 2456 และโอนงานให้กรมศิลปากรดูแลรับผิดชอบ ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 จึงได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ขึ้นชั่วคราวในปี พ.ศ. 2500 ทำการสำรวจขุดแต่งโบราณสถานในปี พ.ศ. 2504 ได้พบสถูปเจดีย์และโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนมาก ต่อมาได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อย่างถาวรในปี พ.ศ. 2508 เพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบดังกล่าว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2509


การจัดแสดง


อาคารที่ 1 จัดแสดงอารยธรรมเมืองอู่ทองสมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 5 - 16) ซึ่งเคยเป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ รับรูปแบบศาสนา ศิลปะแบบอมราวดีและแบบคุปตะจากอินเดียและศิลปะศรีวิชัยจากภาคใต้ เป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ โบราณวัตถุที่จัดแสดงได้แก่ เครื่องมือหินขัด แวปั่นด้านดินเผา ภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว เหรียญกษาปณ์ เหรียญสมัยจักรพรรดิวิคโตรินุส ประติมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ 3 องค์อุ้มบาตร และพระพุทธรูปปูนปั้นนาคปรกศิลปะแบบอมราวดี ธรรมจักร จารึกแผ่นทองแดง เศียรพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปปางประทานธรรมและพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ฯลฯ

อาคารที่ 2 จัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองอู่ทองในสมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 20 - 24 การบูรณะซ่อมแซมเจดีย์หมายเลข 1 ในสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2173 - 2178) โบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ขันสำริด ครอบเต้าปูนสำริด กังสดาล และกระปุกลายครามของจีน ฯลฯ

อาคารที่ 3 เป็นสถาปัตยกรรมเรือนลาวโซ่ง จัดแสดงขนบธรรมเนียม ประเพณี เครื่องมือ เครื่องใช้และการทอผ้า















โบราณวัตถุที่สำคัญ







เหรียญโรมัน เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร สมัยโรมัน ทำจากทองแดง พบบริเวณเมืองเก่าอู่ทอง











เหรียญเงินมีตราปูรณะกลศ (หม้อน้ำ) เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.8 เซนติเมตร
ศิลปะทวารวดี ทำจากเงิน พบบริเวณเมืองอู่ทอง











เหรียญรูปพระอาทิตย์อุทัย เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.1 เซนติเมตร สมัยฟูนัน ทำจากตะกั่ว พบบริเวณเมืองอู่ทอง








หม้อดินเผา ปากกว้าง 12 เซนติเมตร สูง 13.1 เซนติเมตร สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินเผา พบบริเวณเมืองอู่ทอง









ตราดินเผา เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5 เซนติเมตร สมัยฟูนัน พุทธศตวรรษที่ 9 - 10 ทำจากดินเผา พบบริเวณเมืองอู่ทอง










แผ่นทองแดงจารึกอักษร กว้าง 28 เซนติเมตร ยาว 42 เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี ทำจากทองแดง พบบริเวณเมืองอู่ทอง









ประติมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ 3 องค์อุ้มบาตร กว้าง 20 เซนติเมตร สูง 16 เซนติเมตร ศิลปะอมราวดี พุทธศตวรรษที่ 5 - 9 ทำจากดินเผา พบบริเวณเมืองเก่าอู่ทอง อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี










พระเศียรพระพุทธรูปทองคำ กว้าง 4 เซนติเมตร สูง 5.3 เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11 - 16 วัสดุที่ทำจากทองคำ พบบริเวณเจดีย์หมายเลข 2 เมืองอู่ทอง










พระเศียรพระพุทธรูปดินเผา กว้าง 13.5 เซนติเมตร สูง 18 เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11 - 16 ทำจากดินเผา พบที่เจดีย์หมายเลข 5 เมืองอู่ทอง









การบริการ

ที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ถนนมาลัยแมน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72160
โทรศัพท์ / โทรสาร (035) 551-040
วันทำการ
เปิด : วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 8.30 - 16.00 น.
ปิด : วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าธรรมเนียมเข้าชมชาวไทย 30 บาทชาวต่างชาติ 150 บาท

































































































































































































































































วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

ประวัติความเป็นมา









พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 23พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ทรงมีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า “ โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษา และตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่” กรมศิลปากรจึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นเพื่อเก็บรักษาจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และโบราณวัตถุพบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาคารก่อสร้างด้วยเงินบริจาคจากประชาชน ซึ่งผู้บริจาคได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2504
การจัดแสดง

จัดแสดงในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในแหล่งอนุสรณ์สถาน คือ จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน ซึ่งจัดแสดง 3 อาคาร คือ
อาคารจัดแสดง 1 แบ่งการจัดแสดงเป็น 2 ชั้น
ชั้นล่าง
ห้องโถงกลาง
ห้องเครื่องปั้นดินเผา และเครื่องถ้วย
ห้องเงินตรา
ชั้นบน
ห้องวัดมหาธาตุ
ห้องโถงกลาง
ห้องราชบูรณะ


โบราณวัตถุที่สำคัญ

ชื่อวัตถุ พระแสงดาบทองคำ
ขนาด ยาว 115 ซม.กว้าง5.5
อายุสมัย อยุธยา
วัสดุ ทองคำ
ประวัติ ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ


ชื่อวัตถุ พระเต้าทักษิโณทก ทองคำ
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.7 ซม. สูง 18.5 ซม.
อายุสมัย อยุธยา
วัสดุ ทองคำ
ประวัติ ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณ



ชื่อวัตถุ ช้างทรงเครื่องทองคำ
ขนาด ยาว 15.5ซม. สูง12ซม.
อายุสมัย อยุธยา
วัสดุ ทองคำ
ประวัติ ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบู






การบริการ

1. ให้บริการบรรยายนำชมแก่ สถานศึกษา โรงเรียน สถาบันต่างๆ ทั้งในและนอกสถานที่
2. ให้บริการจำหน่ายหนังสือ โปสการ์ด สิ่งพิมพ์ และของที่ระลึก
เวลาทำการ 9.00 – 16.00
เปิด วันพุธ – วันอาทิตย์
ปิด วันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ค่าธรรมเนียม
ชาวไทย 30 บาท
ชาวต่างประเทศ 150 บาท

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ถนน โรจนะ พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ :
แฟกซ์ ( 035 ) 241-587





วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติความเป็นมา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งตั้งขี้นเมื่อ พ.ศ. 2402 แต่เดิมเป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือวังหน้าซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งและพระตำหนักอันนับเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการต่างๆ นับว่าเป็นบ่อเกิดของพิพิธภัณฑ์ในสมัยต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มิวเซียม" ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเแลิมพระชนมายุครบ 21 พรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2430 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทิวงคต จึงได้มีประกาศยกเลิกตำแหน่งพระอุปราชแล้ว ทำให้สถานที่ในพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึง โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานจากหอคองคอเดีย ไปตั้งจัดแสดงที่พระราชวังบวรสถานมงคลเฉพาะด้านหน้า 3 องค์ โดยใช้พระที่ นั่งด้านหน้าคือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์วังหน้า"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระ ราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้น และได้จัด พระที่นั่งศิวโมกขพิมานให้เป็นสถานที่จัดแสดง ศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย ตำราโบราณ เรียกว่าหอสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จึงได้เข้าสังกัดกับกรมศิลปากร และได้ประกาศตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2477

การจัดแสดง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยา ปัจจุบันแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.ประวัติศาสตร์ชาติไทย จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติไทยและประวัติศาสตร์ชาติไทยโดยสังเขป โดยจัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

2.ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี เป็นการจัดแสดงวิวัฒนาการของศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย ลำดับตามยุคสมัย โดยจัดแสดงมราอาคารมหาสุรสิงหนาทและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์

3.ประณีตศิลป์และชาติพันธุ์วิทยา จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างประณีต หรือเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแต่โบราณ เช่น เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม เครื่องมุก เครื่องดนตรี เครื่องไม้จำหลัก เครื่องประกอบการเล่นมหรสพต่างๆ เครื่องแต่งกายและผ้าโบราณ เครื่องถ้วย อาวุธโบราณ ราชยานคานหาม ราชรถและเครื่องประกอบการพระราชพิธีพระบรมศพ เป็นต้น โดยจัดแสดงที่อาคารหมู่พระวิมานและโรงราชรถ

4.อาคารโบราณสถาน จัดแสดงอาคารหมู่พระที่นั่งในพระราชวังบวรสถานมงคลมาแต่เดิม รวมทั้งอาคารที่เคลื่อนย้ายมาจากพระราชวังต่างๆ อาทิ เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ตำหนักแดง พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พระที่นั่งปาฏิหารย์ทัศไนย ศาลาลงสรง เป็นต้น

แผนผังพิพิธภัณฑ์


คำอธิบายแผนผัง

1 ประวัติศาสตร์ชาติไทย(ปิดปรับปรุง)
2
ก่อนประวัติศาสตร์ (ปิดปรับปรุง)
3
พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์
4
พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย
5
มหรรฆภัณฑ์
6
ราชยานคานหาม
7
การละเล่น
8 ล
เครื่องถ้วย
8 บ งาช้าง
9
เครื่องมุก
10
อาวุธโบราณ
11 เครื่องทอง
12
ศิลาจารึก
13
ไม้จำหลัก
14 ล
เครื่องแต่งกาย-ผ้า
14 บ
เครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา
15
ครื่องดนตรี
16
พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์
17
โรงราชรถ
18
พระที่นั่งมังคลาภิเษก
19
พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย
20
ศาลาสำราญมุขมาตย์
21
ศาลาลงสรง
22
ตำหนักแดง
23
หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช
24
เก๋งจีนนุกิจราชบริหาร
ต 1
ศิลปะเอเชีย
ต.3,5
ศิลปะลพบุรี
ต 4
เทวรูปโบราณ
ต 6
มรดกโลกบ้านเชียง (ปิดปรับปรุง)
ต 7
ศิลปะทวารวดี
ต 8
ศิลปะชวา
ต 9
ศิลปะศรีวิชัย
น 1
ศิลปะรัตนโกสินทร์
น 2
ประณีตศิลป์
น 3
เงินตรา ธนบัตร แสตมป์
น 4
พระพุทธรูป
น 5,6 ศิลปะล้านนา
น 7,8
ศิลปะสุโขทัย
น 9,10
ศิลปะอยุธยา


โบราณวัตถุที่สำคัญ

พระพุทธสิหิงค์

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20สำริดกะไหล่ทอง สูง 166 เซนติเมตรประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพักตร์ค่อนข้างกลม มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัยและลังกา เป็นพุทธรูปสำคัญซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ที่ราชธานีเดิม ทั้งกรุงศรีอยุธยาและเมืองเชียงใหม่ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท อัญเชิญจากเชียงใหม่มาประดิษฐานยังพระราชวังบวรสถานมงคล ในราว พ.ศ. 2330 พระพุทธสิหิงห์เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อำนวยสวัสดิ์แก่บ้านเมือง จึงอัญเชิญออกสรงน้ำพิธีสงกรานต์ที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ เป็นประจำทุกปี






พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20สำริด สูง 102 เซนติเมตรพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานจัดแสดงที่ห้องศิลปะสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระรัศมีรูปเปลว ขมวดเกศาเป็นรูปก้นหอยสมส่วน พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งปลายงุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์บาง อมยิ้ม พระอังสาใหญ่ ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาย ประทับขัดสมาธิราบบนฐานเขียง มีรูปนอกอ่อนหวาน ตามลักษณะศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ที่ฐานมีจารึกว่า ทิดไสหงและนางแก้วเป็นผู้สร้าง


พระพุทธรูปปางมารวิชัย


ศิลปะล้านนา สูงพร้อมฐาน 70.5 เซนติเมตรหน้าตักกว้าง 43 เซนติเมตรของหลวงพระราชทานจัดแสดงที่ห้องศิลปะล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป พระรัศมีเป็นรูปลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งแต่สั้น พระโอษฐ์อิ่ม อมยิ้มเล็กน้อย พระหนุเป็นปม พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ครองจีวรสไบเฉียง เปิดพระอังสาขวา มีชายจีวรหรือสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือพระถัน ทำปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิเพชรแลเป็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฐานบัวคว่ำหงายมีเกสรบัวประกอบ จัดเป็นพระพุทธรูปล้านนาหรือพระพุทธรูปเชียงแสนสมัยต้น

พระอวโลกิเตศวร

ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 14)สำริด สูง 63 เซนติเมตรย้ายมาจากวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีจัดแสดงที่ห้องศิลปะศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ขนาดเท่าบุคคลจริง พบเฉพาะส่วนบนของประติมากรรม ลักษณะพระองค์อวบอ้วน ประทับเอียงตน ก้มพระพักตร์ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำอย่างงดงาม องค์ประกอบประติมากรรมลวดลายเครื่องประดับคล้ายคลึงกับประติมากรรมต่างๆจากชวาภาคกลาง เป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมที่สุดชิ้นหนึ่งของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระคเณศ



ศิลปะชวาตะวันออก พุทธศตวรรษที่ 15-16ศิลา สูง 172 เซนติเมตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มาจากจัณฑิ สิงหส่าหรี ประเทศอินโดนีเซียจัดแสดงที่ห้องศิลปะชวา อาคารมหาสุรสิงหนาท พระคเณศจำหลักศิลานูนสูง ประทับนั่งบนบัลลังก์กระโหลกมนุษย์ มี 4 กร หัตถ์ขวาบนถือขวาน หัตถ์ซ้ายบนถือพวงลูกประคำ หัตถ์ขวาและหัตถ์ซ้ายล่างถือถ้วยขนม ทรงเครื่องประดับตกแต่งมาก คือ ศิราภรณ์กุณฑลรูปกระโหลก พาหุรัด เข็มขัด รัดองค์ ทองพระกร ทองพระบาท ทรงภูษาลวดลายกระโหลกมนุษย์ และสวมสายยัชโญปวีตรูปงู ผู้สำเร็จราชการฮอลันดาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จประพาสชวา พ.ศ. 2439


ศิลาจารึกหลักที่ 1


จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พ.ศ. 1835ศิลา สูง 111 เซนติเมตรพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๆด้จากเมืองเก่าสุโขทัยจัดแสดงที่ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือเรียกว่า ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง นับเป็นหลักฐานสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นบันทึกเรื่องราวพระราชประวัติและรพระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 1826 นอกจากนี้ยังบันทึกถึงภูมิสถานบ้านเมือง การเมือง การปกครอง และวิถีชีวิตความเชื่อความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นอีกด้วย
การบริการ
บริการฝ่ายบริการการศึกษา
บริการนำชมเป็นหมู่คณะ โดยการนัดหมาย
บริการสื่อโสตทัศนศึกษา โดยการนัดหมาย
บริการให้ยืมนิทรรศการหมุนเวียน โดยการนัดหมาย
บริการให้ยืมภาพถ่าย โดยการนัดหมาย
บริการห้องสมุด วันเสาร์ - อาทิตย์ หรือโดยการนัดหมาย
บริการนำชมภาษาต่างประเทศ โดยกลุ่มสตรีอาสาสมัคร
ภาษาอังกฤษ นำชมเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะไทยและพระพุทธศาสนา
ทุกวันพุธ และพฤหัสบดี เวลา 9.30น.
ภาษาฝรั่งเศส นำชมเรื่องศิลปะก่อนไทยและศิลปะไทย ทุกวันพุธ และพฤหัสบดี เวลา 9.30น.
ภาษาเยอรมัน นำชมเรื่องศิลปะและวัฒนธรรมไทย
ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 9.30น.
ภาษาญี่ปุ่น นำชมเรื่องวัฒนธรรมไทย, เครื่องถ้วย และพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ทุกวันพุธ สัปดาห์ที่ 1 และ 2 ของเดือน เวลลา 9.30 น. นำชมเรื่องศิลปะก่อนไทยและศิลปะไทย
ทุกวันพุธ สัปดาห์ที่ 3 และ 4 ของเดือน เวลลา 9.30น.
อัตราค่าเข้าชม
บัตรปลีก คนไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท
บัตรรวม คนไทย 60 บาท ชาวต่างประเทศ 350 บาท
** บัตรรวมสามารเข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์
เข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษะ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆเวลาทำการ 09.00 - 16.00น.ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์